รวมหมวกเซฟตี้ทุกประเภท
หมวกนิรภัยทุกแบบของเรา รวมไว้ที่นี่! เลือกดูหมวกเซฟตี้ที่ผ่านมาตรฐาน มอก.
เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม และงานภาคสนามทุกประเภท

เลือกหมวดหมู่สินค้า
บทความที่เกี่ยวข้อง
หากคุณกำลังมองหาหมวกนิรภัย แต่เลือกไม่ถูกว่าต้องใช้หมวกเซฟตี้รุ่นไหน
ลองอ่านบทความเหล่านี้เพื่อประกอบการตัดสินใจ หรืออ่านบทความทั้งหมดที่นี่
FAQ: คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้งานหมวกนิรภัยในงานต่าง ๆ
หมวกนิรภัยมีกี่แบบ?
หมวกนิรภัยมีหลายแบบให้เลือกใช้ตามลักษณะของงาน เช่น:
- หมวกนริภัยมาตรฐาน: แข็งแรง ดุดัน เหมาะกับงานก่อสร้าง โครงสร้างเหล็ก หรือโรงงาน
- หมวกเซฟตี้ญี่ปุ่น: กะทัดรัด น้ำหนักเบา เหมาะกับงานไฟฟ้า หรือพื้นที่ทำงานจำกัด
- หมวกเซฟตี้มีรูระบายอากาศ: โปร่ง ระบายอากาศดี เหมาะกับงานกลางแจ้ง ภาคสนาม
- หมวกนิรภัยปีกรอบ (Full Brim): ป้องกันรอบด้าน เหมาะกับงานภาคสนาม ฝุ่น น้ำ หรือสารเคมี
การเลือกให้ตรงลักษณะงาน จะช่วยให้ปลอดภัย ใช้งานได้สะดวก และดูมืออาชีพมากขึ้น!
หมวกนิรภัยมีกี่ประเภท?
หมวกนิรภัยสามารถแบ่งตามประเภทการใช้งานหลัก ๆ ได้ 3 ประเภท:
Class E (Electrical) – ป้องกันไฟฟ้าแรงสูง สูงสุด 20,000 โวลต์
Class G (General) – ป้องกันไฟฟ้าแรงต่ำ เหมาะกับงานก่อสร้างทั่วไป
Class C (Conductive) – ไม่ป้องกันไฟฟ้า แต่ระบายอากาศได้ดี เหมาะกับงานกลางแจ้ง
ก่อนเลือกซื้อควรตรวจสอบว่างานของคุณอยู่ในความเสี่ยงด้านใด เพื่อเลือกหมวกที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
อุปกรณ์เสริมที่ใช้กับหมวกเซฟตี้มีอะไรบ้าง?
อุปกรณ์เสริมที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและการใช้งาน ได้แก่:
แว่นตานิรภัยแบบติดหมวก
ผ้าคลุมต้นคอ สำหรับกันแดดหรือฝุ่น
ที่ครอบหู สำหรับงานที่มีเสียงดัง
คลิปล็อกสายรัดคาง
รุ่นหมวกเซฟตี้ทรงมาตรฐาน และ รุ่นมีรูระบายอากาศ
รองรับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น หูฟังนิรภัย, อุปกรณ์สื่อสาร
ขณะที่ รุ่นปีกรอบ สามารถใส่ หน้ากากนิรภัย ป้องกันใบหน้าเพิ่มเติมได้โดยไม่เกะกะ
ประโยชน์ของหมวกนิรภัยคืออะไร?
หมวกนิรภัย (หรือหมวกเซฟตี้) ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะจาก:
วัสดุตกหล่นจากที่สูง
การชนกับสิ่งของในที่ทำงาน
อุบัติเหตุจากเครื่องจักร หรือการลื่นล้ม
ไฟฟ้าหรือสารเคมี (เฉพาะหมวกบางรุ่นที่รองรับ)
การสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกต้องและเลือกให้เหมาะกับงาน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้อย่างมากในสถานที่ทำงาน
หมวกนิรภัยจึงไม่ใช่แค่ “เครื่องแบบ” แต่คือ “อุปกรณ์ช่วยชีวิต”